ปวดท้อง อย่าปล่อยไว้ก่อนจะอันตราย

ปวดท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างหน้าอกและบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญที่อยู่ในช่องท้อง หรือโรคที่ส่งผลต่ออวัยวะในช่องท้องอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ อวัยวะเหล่านั้น ได้แก่ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไต ม้าม ถุงน้ำดี ตับหรือตับอ่อน  หากอวัยวะเหล่านี้เกิดการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ จนทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างมาก

อาการ ปวดท้อง เกิดจากอะไร?

ปวดท้อง

อาการปวดท้องอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหลักก็คือการติดเชื้อ  การอักเสบ หรือการอุดตันบริเวณลำไส้ ทั้งนี้ การติดเชื้อในลำคอและในเลือดอาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องได้ และการติดเชื้อเหล่านี้ ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการย่อยอาหารของคุณ และเกิดอาการท้องร่วงหรือท้องผูกตามมา และอีกหนึ่งสาเหตุทีเกิดได้ในเฉพาะสาว ๆ คือ อาการปวดจากการมีประจำเดือน หากไม่ได้ปวดท้องมากก็ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่หากอาการหนักจะต้องได้รับการรักษาให้ทันท่วงที

ไม่เพียงแต่สาเหตุการติดเชื้อหรือประจำเดือนเท่านั้นที่ทำให้ปวดท้อง บางสาเหตุก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องได้เช่นกัน เช่น กระเพาะและลำไส้อักเสบ(ไข้หวัดในกระเพาะอาหาร) กรดไหลย้อน และความเครียด เป็นต้น

อาการปวดท้อง สามารถมีได้หลายประเภท

ปวดท้อง

1. อาการปวดเฉพาะที่  อาการปวดท้องประเภทนี้มักเกิดจากปัญหาอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเฉพาะที่ มักจะเกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร (แผลเปิดที่เยื่อบุด้านในของกระเพาะอาหาร)

2. อาการปวดเหมือนตะคริว อาจเกี่ยวข้องกับอาการท้องร่วง ท้องผูก หรือท้องอืด ในผู้หญิงอาจจะเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน การแท้งบุตรหรือภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะสืบพันธุ์  

3. อาการปวดท้องที่เป็นพักๆ เป็นอาการของภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง  เช่น นิ่วในถุงน้ำดีหรือนิ่วในไต ความเจ็บปวดจากอาการปะเภทนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและอาจรู้สึกเหมือนกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง

ตำแหน่งที่ปวดท้อง บอกโรค

ปวดท้อง

ตำแหน่งของอาการปวดภายในช่องท้องอาจเป็นสาเหตุขอโรคต่าง ๆ ได้ โดยสังเกตดังต่อไปนี้

1.ปวดทั่วช่องท้อง ไม่ใช่ในบริเวณเดียว  หากมีอาการแบบนี้ อาจะเป็น ไส้ติ่งอักเสบ โรคโครห์น(เกิดการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้)  การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือไข้หวัด

2.อาการปวดที่เน้นในช่องท้องส่วนล่าง อาจเป็น ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตัน การตั้งครรภ์นอกมดลูก

3.อาการปวดท้องส่วนบน อาจเป็น โรคนิ่ว หัวใจวาย ตับอักเสบ หรือโรคปอดอักเสบ

4.อาการปวดตรงกลางช่องท้อง อาจเป็น ไส้ติ่งอักเสบ โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ หรือยูเรีย (ภาวะที่มียูเรียอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ)

5.อาการปวดท้องด้านซ้ายล่าง อาจเป็น โรคโครห์น โรคมะเร็ง ไตติดเชื้อ ซีสต์รังไข่ ไส้ติ่งอักเสบ

6.อาการปวดท้องด้านซ้ายบน อาจเป็น  ม้ามโต อุจจาระแข็ง  ไตติดเชื้อ หัวใจวาย โรคมะเร็ง

7.อาการปวดท้องด้านขวาล่าง อาจเป็น ไส้ติ่งอักเสบ ไส้เลื่อน ไตติดเชื้อ โรคมะเร็ง ไข้หวัด

8.อาการปวดท้องด้านขวาบน อาจเป็น ตับอักเสบ บาดเจ็บ โรคปอดอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ

9.ปวดในอวัยวะสืบพันธุ์ของช่องท้องส่วนล่าง อาจเป็น อาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง ซีสต์รังไข่ การแท้งบุตร เนื้องอก เยื่อบุโพรงมดลูก โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก

เหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น ที่คุณสามารถสังเกตได้เองจากที่บ้าน หากปวดท้องไม่หาย และเป็นหนัก ก็ควรไปพบแพทย์ อย่ารอให้ปวดท้องจนลุกขึ้นเดินไม่ไหว มิฉะนั้นแล้วอาจอาการทรุด และเป็นโรคร้ายแรงตามมา

ติดตามข้อมูลสาระดีๆด้านสุขภาพได้ที่นี่