แผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อย ที่ ๆ คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “โรคกระเพาะ” โดยสามารถแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ คือ แผลในส่วนกระเพาะอาหาร และแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
โดยปกติ ผนังของกระเพาะอาหาร จะได้รับการป้องกันจากการระคายเคืองของกรดในกระเพาะอาหาร แต่เมื่อเยื่อบุที่เป็นตัวป้องกันได้รับความเสียหาย หรือกระเพาะอาหารสร้างกรดในกระเพาะจนมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และอาจเป็นไปได้ว่า จะเกิดเนื้อร้ายจากการเป็นแผลในกระเพาะอาหารตรงจุดนั้น
อาการที่พบบ่อยที่สุดของแผลในกระเพาะอาหาร คือ ปวดท้องเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะในตอนกลางคืนหรือเมื่อคุณมีอาการหิว และอาจจะมีอาการอื่น ๆ ตามมาเช่น ท้องอืด คลื่นไส้ เรอและเบื่ออาหาร ในกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้เกิด gastrorrhagia หรือ การตกเลือดในกระเพาะ โดยจะอุจจาระเป็นสีดำหรือลักษณะของอาเจียนจะเหมือนกาแฟบด
สาเหตุของการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร มีอะไรบ้าง ?
1. มีภาวะกระเพาะอาหารผลิดกรดมากมาแต่กำเนิด
2. ความเครียดทางจิตใจและความเครียดทางอารมณ์ ที่ทำให้ระบบประสาท กระตุ้นการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป
3.พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติหรือการกินมากเกินไป
4.การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์มาก เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้อาการของแผลในกระเพาะอาหารแย่ลง
5.การใช้ยาเช่นแอสไพรินและยาแก้ปวดสำหรับโรคไขข้อ ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองและทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร
สาเหตุเหล่านี้ เป็น 5 สาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากมีอาการขึ้นมาแล้ว ก็ต้องรีบหายามาทานเพื่อบรรเทาอาการเหล่านั้น มาดูกันเถอะว่า ยาอะไรบ้าง ที่จะช่วยในเรื่องของแผลในกระเพาะอาหาร
1.ยาลดกรด
ยาลดกรด จะทำให้กรดในกระเพาะมีค่าเป็นกลาง และช่วยบรรเทาหรือขจัดความระคายเคืองของผนังกระเพาะอาหารและบริเวณที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ได้ ตัวอย่างเช่น แมกนีเซียมไตรซิลิเกตและอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ที่มีจำหน่ายในรูปแบบของยาเม็ดและยาที่สามารถเคี้ยวได้
2. ยาต้านโคลิเนอร์จิค
ยาต้านโคลิเนอร์จิค เป็นยาระงับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและลดการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร บรรเทาอาการปวดท้องและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างเช่น โพรเพนไลน์โบรไมด์ หรือ scopolamine methylbromide
3. H2 receptor antagonists
เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า H2 receptor antagonists เป็นยาเฉพาะ โดยมีประสิทธิภาพในการระงับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง ตัวอย่าง เช่น ไซเมทิดีน และ แรนิทิดีน
ผลข้างเคียงของยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
หากคุณมีการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารแล้วล่ะก็ ไม่ควรใช้ยาลดกรดและยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารพร้อมกัน เพราะเจ้าตัวยาลดกรด จะไปยังยั้งประสิทธิภาพของยาที่ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงควรแยกทานยาทั้งสองประเภทนี้ โดยเว้นช่วงเวลาหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อนทานยาอีกตัวเข้าไป เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีมากขึ้น
ส่วนผลข้างเคียงของยาต้านโคลิเนอร์จิค คืออาจจะทำให้เกิดต้อหิน ปัสสวะไม่ออก หัวใจเต้นเร็วและปากแห้งได้ และในตัวยา H2 receptor antagonists มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาต้านโคลิเนอร์จิค แต่อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมและอาการแพ้ ซึ่งหากได้รับผลข้างเคียงจากยาดังกล่าวเมื่อไหร่ ต้องรีบปรึกษาหมอทันทีเพื่อหยุดยาและให้หมอจ่ายยาประเภทอื่นแทน