การทานยา ร่วมกันกับอาหารและเครื่องดื่ม อาจมีปฏิกิริยาบางอย่างที่ส่งผลต่อการทำงานของยาได้ ซึ่งอาหารและเครื่องดื่ม อาจส่งผลต่อการดูดซึมของยาในระหว่างรับประทานอาหาร เรามาดูกันเถอะว่า การทานยา พร้อม ๆ กับอาหารหรือเครื่องดื่มชนิดไหน จะส่งผลอย่างไรกับร่างกายของเราบ้างนะ
การทานยา พร้อมกับการทานอาหารและเครื่องดื่ม ส่งผลเสียอย่างไรบ้างนะ ?

1.การทานยาพร้อมแอลกอฮอล์
หากคุณต้องการจะทานยาใด ๆ ก็ตาม หรือมีการใช้ยาอยู่ล่ะก็ สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลายแหล่ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการปฏิกิริยาของยา และอาจทำให้ยาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เครื่องดื่ม ประเภท กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลังอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีน มีสารชนิดหนึ่งที่จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเพิ่มความดันโลหิต แต่ตับจะกำจัดคาเฟอีนเหล่านี้ออกไปในที่สุด หากคุณทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนแล้วล่ะก็ ยาจะไปรบกวนการทำงานของตับและส่งผลให้ระดับคาเฟอีนในเลือดสูงขึ้น ในทางกลับกันคาเฟอีนเองก็จะไปยับยั้งการทำงานของยา ส่งผลให้ระดับธีโอฟิลลีนในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียง เช่น การนอนไม่หลับและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

3.น้ำเกรพฟรุต น้ำแอปเปิ้ล และน้ำส้ม
น้ำเกรพฟรุต น้ำแอปเปิ้ลและน้ำส้ม เป็นหนึ่งในน้ำผลไม้ที่รู้จักกันดี ซึ่งจะไปยับยั้งการทำงานของยา ส่งผลให้การดูดซึมของยาลดลง โดยยาที่อาทำปฏิกิริยากับ น้ำเกรพฟรุต เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคุมกำเนิด ยากล่อมประสาทไตรไซคลิก ยาต้านมาลาเรีย เป็นต้น ส่วนในน้ำแอปเปิ้ลและน้ำส้ม จะทำให้การดูดซึมของยาเฟกโซเฟนาดีนลดลง ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาไข้ละอองฟางและอาการภูมิแพ้ ดังนั้นถึงจะเป็นน้ำผลไม้ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงและส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน
4.ข้าวยีสต์แดง
ข้าวยีสต์แดง ได้มาจากการหมักข้าว ซึ่งนำมาหมักกับหมักกับยีสต์สีแดงที่มีชื่อว่า Monascus purpureus ยีสต์แดงมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารให้เกิดสีสันและเป็นสารกันบูด โดยเชื่อกันว่ายีสต์แดงจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบย่อยอาหาร และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่การทานข้าวยีสต์แดงกับยา เป็นสิ่งที่ไม่ดีนัก เนื่องจากอาจการเกิดยับยั้งเอนไซม์ในตับ และมีความเสี่ยงสูงในการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ

5.อาหารที่มีโพแทสเซียม
อาหารบางอย่าง เช่น ถั่วและผลไม้ (เช่น กล้วย ส้ม อะโวคาโด) ผักใบเขียว ถั่วขาวและเกลือ ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการรักษาสมดุลในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร น้ำผลไม้และซุปผักที่มีโพแทสเซียมสูงในปริมาณมากหากคุณรับประทานยา เช่น ยาแองจิโอเทนซิน ที่ใช้ในโรคความดันโลหิตสูง ยาดิจอกซินที่ใชในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว และยาไตรแอมเตอรีนที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เพราะปฏิกิริยาระหว่างยาเหล่านี้กับอาหารที่มีโพแทสเซียม อาจทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณของโพแทสเซียมในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นได้ ในที่สุด